เมนู

5. สมนันตรปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย


[206] 1. อนิทัสสนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสนธรรม ด้วย
อำนาจของสมนันตรปัจจัย

ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย มี 3 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มี 1 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ.

9. อุปนิสสยปัจจัย


[207] 1. สนิทัสสนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสนธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลปรารถนาซึ่งความถึงพร้อมแห่งวรรณะ ย่อมให้ทาน ฯลฯ ศีล
ฯลฯ กระทำอุโบสถกรรม.
ความถึงพร้อมแห่งวรรณะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ความ
ปรารถนา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
2. อนิทัสสนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสนธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อ
มานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศีล ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ผลสมาบัติ ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

10. ปุเรชาตปัจจัย


[208] 1. สนิทัสสนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสนธรรม ด้วย
อำนาจของปุเรชาตปัจจัย

คือ พิจารณาเห็นรูปที่เป็นสนิทัสสนธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูป ด้วยทิพยจักษุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
2. อนิทัสสนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสนธรรม ด้วย
อำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
พิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.